1. รหัสและชื่อรายวิชา
03-407-322-305 อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งสำหรับฟาร์มอัจฉริยะ
Internet of Things for Smart Farms
2. จํานวนหน่วยกิต
หน่วยกิต 3(3-0-6)
เวลาเรียน บรรยาย 3 ชั่วโมง ปฏิบัติ 0 ชั่วโมง นอกเวลา 6 ชั่วโมง
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
3.1 หลักสูตรที ใช้รายวิชา หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจริยะ
3.2 ประเภท ของรายวิชา หมวดวิชาชีพเฉพาะ
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเทพ เวงสูงเนิน
อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
วิทยาเขตศูนย์กลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2/2566
หลักสูตร หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจริยะ
ชั้นปีที่เรียน นักศึกษา 4 ปี ชั้นปีที่ ปี 3
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite)
ไม่มี | ไม่มี |
ไม่มี | |
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites)
ไม่มี | ไม่มี |
ไม่มี | |
8. สถานที่เรียน
อาคารปฏิบัติการวิศวกรรม วิทยาเขตศูนย์กลางนครราชสีมา
9. วันที่จัดทําหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
3 พฤศจิกายน 2566
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนผ่านเข้าใจถึงหลักการและแนวความคิดพื้นฐานเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลอัจฉริยะสถาปัตยกรรมบริการและโปรโตคอลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเทคโนโลยี IoTและการใช้งานระบบอัจฉริยะเกษตรอัจฉริยะพลังงานอัจฉริยะบ้านอัจฉริยะระบบสุขภาพอัจฉริยะ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับIoTการติดตามสภาวะแวดล้อมในและนอกโรงเรือนการควบคุมอุปกรณ์สำหรับงานเกษตรกรรม การประยุกต์ใช้ในงานเกษตรแม่นยำ
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา
–
หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนผ่านเข้าใจถึงหลักการและแนวความคิดพื้นฐานเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลอัจฉริยะ สถาปัตยกรรม บริการและโปรโตคอล ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย เทคโนโลยี IoT และการใช้งานระบบอัจฉริยะ เกษตรอัจฉริยะ พลังงานอัจฉริยะ บ้านอัจฉริยะระบบสุขภาพอัจฉริยะ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับIoTการติดตามสภาวะแวดล้อมในและนอกโรงเรือนการควบคุมอุปกรณ์สำหรับงานเกษตรกรรม การประยุกต์ใช้ในงานเกษตรแม่นยำ
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย | สอนเสริม | การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน | การศึกษาด้วยตนเอง |
45 | 0 | 90 | 75 |
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษา และแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
3
หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรม จริยธรรม
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ
1.1.2 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร
1.1.3 ตระหนัก และสำนึกในความเป็นไทย
1.2 วิธีสอน
1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ความรู้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสมรวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.4 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 จัดการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.1 สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึง การใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองเพื่อการเรียนรูตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 กรณีศึกษา
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา
4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1.1 รู้จักบทบาทหน้าที่และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.2 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงานและการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3 วิธีการประเมิน
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา
5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูดการเขียนและการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้ | วิธีการประเมิน | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | กิจกรรม สอบข้อเขียนและสอนปฏิบัติ | ทุกสัปดาห์ | 60 |
1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | สอบ ณ มหาวิทยาลัย หรือสอบออนไลน์ | 8 | 20 |
สอบปลายภาค | สอบ ณ มหาวิทยาลัย หรือสอบออนไลน์ | 17 | 20 |