วิชา System Analysis and Design

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา
02-406-031-206 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  System Analysis and Design
2. จำนวนหน่วยกิต
3(3-0-6)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต     หมวดวิชาชีพเฉพาะ     กลุ่มวิชาชีพบังคับ
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
ผู้รับผิดชอบรายวิชา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล                ศูนย์กลาง นครราชสีมาอาจารย์ผู้สอนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล                ศูนย์กลาง นครราชสีมา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล                ศูนย์กลาง นครราชสีมา
5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ 2 / 2557
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  ชั้นปีที่ 2
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite) (ถ้ามี)
8. สถานที่เรียน
ศูนย์กลาง
– คณะวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์    สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วิทยาเขตสุรินทร์
– คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี    สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
วิทยาเขตกาฬสินธุ์
– คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร    สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายรายวิชา
1. เข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบ
2. เข้าใจเกี่ยวกับวัฏจักรการพัฒนาระบบ
3. เข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิเคราะห์ระบบ
4. ประยุกต์ใช้เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างเหมาะสม
5. เข้าใจถึงการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบในทางเทคนิค ทางปฏิบัติ และทางธุรกิจ
6. การใช้แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล
7. เข้าใจเกี่ยวกับหลักการออกแบบระบบ สามารถออกแบบหน้าจอการรับ/แสดงข้อมูล   และออกแบบฐานข้อมูลได้
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
  หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1. คำอธิบายรายวิชา
องค์ประกอบของระบบวัฏจักรการพัฒนาระบบ  ระเบียบวิธีวิเคราะห์ระบบและเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบในทางเทคนิค ทางปฏิบัติ และทางธุรกิจ การใช้แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล การใช้แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล   การออกแบบการรับข้อมูล  การออกแบบการแสดงผลข้อมูล การออกแบบฐานข้อมูล  การจัดทําเอกสารประกอบ และการนำเสนอผลงาน
2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย สอนเสริม การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน การศึกษาด้วยตนเอง
  สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย   6
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษา และแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
1 คุณธรรมและจริยธรรม
1.1 คุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องได้รับ
1.1.1  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.4  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.5  เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.6  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
1.1.7  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2  วิธีการสอน
1.2.1  การปฏิบัติตนในการเข้าชั้นเรียน
1.2.2  กำหนดให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย
1.2.3  กำหนดให้นักศึกษาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.4  การอภิปรายกลุ่ม
1.2.5  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3  วิธีการประเมินผล
1.3.1  กลางภาค
1.3.2  งานที่มอบหมาย
1.3.3  จิตพิสัย
2 ความรู้
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.1.2  สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
2.1.3  สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.4  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
2.1.5  รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.1.6  มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
2.1.7  มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
2.1.8  สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2  วิธีการสอน
การบรรยายประกอบการยกตัวอย่าง การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การอภิปราย      การซักถาม กรณีศึกษา   และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้การสอนแบบ Project Based
 
2.3  วิธีการประเมินผล
2.3.1  กลางภาค
2.3.2  ปลายภาค
2.3.3  งานที่มอบหมาย
3 ทักษะทางปัญญา
3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องได้รับ
3.1.1  คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2  สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4  สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2  วิธีการสอน
3.2.1  ร่วมกิจกรรม อภิปรายกลุ่ม  และนำเสนอผลงาน
3.2.2  วิเคราะห์ระบบ โดยเลือกกรณีศึกษาที่สนใจ
3.2.3  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์ 
3.3  วิธีการประเมินผล
3.3.1  กลางภาค
3.3.2  ปลายภาค
3.3.3  งานที่มอบหมาย
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ต้องได้รับ
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.1.3  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.4  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.1.5  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
4.1.6  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2  วิธีการสอน
4.2.1  การร่วมกิจกรรม อภิปรายกลุ่ม ทำรายงานสรุป และนำเสนอผลงาน
4.2.2  กำหนดให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย 
4.3  วิธีการประเมินผล
4.3.1  กลางภาค
4.3.2  ปลายภาค
4.3.3  งานที่มอบหมาย
4.3.4  จิตพิสัย
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องได้รับ
5.1.1  มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4  สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
5.2  วิธีการสอน
5.2.1  อภิปราย
5.2.2  กำหนดให้นักศึกษาทำงานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3  ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ
5.2.4  วิเคราะห์ระบบ จากกรณีศึกษา 
5.3  วิธีการประเมินผล
5.3.1  กลางภาค
5.3.2  ปลายภาค
5.3.3  งานที่มอบหมาย
5.3.4  จิตพิสัย
หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
ครั้งที่ รายละเอียด จำนวน ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อที่ใช้ ผู้สอน
1 – Chapter 1 Introduction to Systems Analysis and DesignIntroduction to System Analysis and Design 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
2 -Chapter 3 Requirements DeterminationRequirements Determination 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
3 – Chapter 4 Business Process and Functional ModelingBusiness Process and Functional Modeling 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
4 -Chapter 2 Project ManagementProject Management 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
5 – SCRUM
Agile framework
3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
6 – Chapter 6 Behavioral Modeling
Behavioral Modeling
– UML Slide
3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
7 – Chapter 5 Structural ModelingStructural Modeling 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
8 สอบกลางภาค 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนิดา หล่อวงศ์ตระกูล
9 – Chapter 7 Moving on to DesignMoving on to Design 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
10 – Chapter 8 Class and Method DesignObject Oriented Design 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
11 – Chapter 10 Human–Computer Interaction Layer DesignHuman–Computer Interaction Layer Design 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
12 – Chapter 9 Data Management Layer DesignData Management Layer Design 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
13 Chapter 11 Physical Architecture Layer DesignSoftware Testing 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
– Project based
สื่อที่ใช้
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
14 – Chapter 12 ConstructionSystem Implementation 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
15 System Maintenance 3 กิจกรรม
-บรรยายเชิงอภิปราย
สื่อที่ใช้
-กรณีศึกษาแบบฝึกหัด
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
16 นำเสนอเทอมโปรเจ็ค 2 3 กิจกรรม
– Project based
สื่อที่ใช้
-powerpoint
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
17 สอบปลายภาค 3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้ วิธีประเมิน สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ( 1.1 )
2 ( 1.4, 1.2, 1.3, 1.5, 1.6, 1.7, 1.8, 1.1 )
3 ( 1.2, 1.1, 1.3, 1.4 )
4 ( 1.3 )
5 ( 1.1, 1.2, 1.4 )
กลางภาค 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 30
2 ( 1.4, 1.2, 1.3, 1.5, 1.6, 1.7, 1.8, 1.1 )
3 ( 1.2, 1.1, 1.3, 1.4 )
4 ( 1.3, 1.5 )
5 ( 1.1, 1.4 )
ปลายภาค 9, 10, 17 30
1 ( 1.1, 1.6, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.7 )
2 ( 1.4, 1.2, 1.3, 1.5, 1.6, 1.7, 1.8, 1.1 )
3 ( 1.2, 1.1, 1.3, 1.4 )
4 ( 1.3, 1.4, 1.1, 1.2, 1.5, 1.6 )
5 ( 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 )
งานที่มอบหมาย 5, 6, 7, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 30
1 ( 1.6, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.7 )
4 ( 1.4, 1.5, 1.6 )
5 ( 1.3 )
จิตพิสัย 16 10
หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. เอกสารและตำราหลัก

Systems Analysis and Design: An Object-Oriented Approach with UML, 5th Edition by Dennis, Wixom, and Tegarden captures the dynamic aspects of the field by keeping students focused on doing SAD while presenting the core set of skills that every systems analyst needs to know today and in the future.
https://www.amazon.com/Systems-Analysis-Design-Object-Oriented-Approach/dp/1118804678กิตติ ภักดีวัฒนะกุลและพนิดา พานิชกุล. คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2546
โอภาส  เอี่ยมสิริวงศ์.  การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.  กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2549
.การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2555
UML_Solutions
UMLQuickReferenceCard
UML_Superstructure
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญ
กิตติ ภักดีวัฒนะกุลและพนิดา พานิชกุล. คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2551
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. กรุงเทพฯ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2551
รัชนี  กัลยาวินัยและอัจฉรา  ธารอุไรกุล.  การวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่.
กรุงเทพฯ:การศึกษา, มปป.
Hoffer, George and Valacich, Modern Systems Analysis and Design, 5 th Edition, Averica: Pearson Prentice Hall, 2008.
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
Sommerville, Ian, Software Engineering, 8 th Edition, Averica: Peason Education Limited, 2007.
หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1.  การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชานี้ ที่ทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาดังนี้
1  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินผู้เรียน
2  สนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
3  การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
2.  การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ดังนี้
1  ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
2  อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเองโดยสังเกตจากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
3.  การปรับปรุงการสอน
หลังจากได้ผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
1  ปรับปรุงรูปแบบการสอนโดยเพิ่มการจัดกลุ่มทำโครงงาน(พัฒนาโปรแกรม)ตามที่นักศึกษาสนใจ แล้วให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมาแลกเปลี่ยนปัญหา-แนวทางแก้ปัญหาโดยมีอาจารย์ช่วยสรุปวิธีแก้ปัญหา
4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา หมวดที่ 5 ข้อที่ 2
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก
1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
5.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1  ปรังปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4