วิชา Plant Production Innovation in Greenhouse

รายละเอียดของรายวิชา

รหัส 02-091-304   วิชา นวัตกรรมการผลิตพืชในโรงเรือน

                              Plant Production Innovation in                                     Greenhouse

รายละเอียดของรายวิชา

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา                มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา                                                            คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์

                                        สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป

1. รหัสและชื่อรายวิชา

          02-091-304     นวัตกรรมการผลิตพืชในโรงเรือน

(Plant Production Innovation in Greenhouse)

2. จำนวนหน่วยกิต     

3 หน่วยกิต       3(2-3-5)

3. หลักสูตร และประเภทของรายวิชา

3.1 หลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต

3.2 ประเภทของรายวิชา

หมวดวิชาชีพเลือก

4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน

                    อาจารย์ผู้รับผิดชอบ       ดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์   วิทยาเขต ศูนย์กลาง

                    อาจารย์ผู้สอน              ดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์   วิทยาเขต ศูนย์กลาง

                                                  ดร. พลเทพ เวงสูงเนิน       วิทยาเขต ศูนย์กลาง

                                                  ผศ.ดร. เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล  วิทยาเขต ศูนย์กลาง

                                                   ดร. วริศา พิลาโฮม          วิทยาเขต ศูนย์กลาง

                                                  ดร. สุกัญญา ลาภกระโทก  วิทยาเขต ร้อยเอ็ด

5. ภาคการศึกษา /ชั้นปีที่เรียน

ภาคการศึกษาที่ 1/2563

หลักสูตร นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

ชั้นปีที่เรียน 3

6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) (ถ้ามี)

7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)

          –

8. สถานที่เรียน

       คณะวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตศูนย์กลาง

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา ครั้งล่าสุด

25 กันยายน 2563

หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชในโรงเรือนและการจัดการ

1.2 มีทักษะในการจัดการ การปลูก ดูแลและเก็บเกี่ยวพืชที่ปลูกในโรงเรือน และนำความรู้ไปได้ไปใช้

2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา

พัฒนารายวิชาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของสาขาวิชา และตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ

1. คำอธิบายรายวิชา

          ความสำคัญ รูปแบบ โครงสร้าง และคุณสมบัติของโรงเรือนเพาะปลูกพืช การควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน การปลูกพืชในโรงเรือนทั้งแบบใช้ดินและไม่ใช้ดิน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช การจัดการวัสดุและอุปกรณ์สำหรับปลูกพืช ธาตุอาหารพืช ระบบน้ำ การควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืช การจัดการกระบวนการผลิตพืชในโรงเรือน การออกแบบโรงเรือน และการพัฒนาระบบควบคุมโรงเรือนอัจฉริยะผ่าน Mobile application

2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา

บรรยายสอนเสริมการฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงานการศึกษาด้วยตนเอง
30                             –                              45                           5       

3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล

 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา

1. คุณธรรม จริยธรรม

          1.1  คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

                ˜ (1) มีวินัยตรงต่อเวลารับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

                ™ (3) มีคุณธรรมของความเป็นผู้นำและผู้ตาม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

                ˜ (4) ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต

          1.2  วิธีการสอน

                (1) เช็คชื่อ ชี้แจงรายวิชา ข้อตกลง/ข้อปฏิบัติในรายวิชา

                (2) มอบหมายงาน

          1.3  วิธีการประเมินผล

                (1) ให้คะแนนการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา

                (2) สังเกตพฤติกรรม การทำงาน การเข้าเรียน การสอบ

                (3) ให้คะแนนความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

2. ความรู้

          2.1  ความรู ที่ต้องไดรับ

                ˜ (1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญ

                ™ (2) สามารถวิเคราะห์ปัญหา ประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา

                ˜ (3) สามารถค้นคว้าหาความรู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร

                ™ (4) สามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          2.2  วิธีการสอน

                (1) บรรยายโดยใช้ power point

                (2) พานักศึกษาไปศึกษาดูงานด้านการผลิตพืชในโรงเรือน

                (3) ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติและมีการอภิปรายในเรื่องที่ได้ปฏิบัติ

          2.3  วิธีการประเมินผล

                (1) ประเมินจากผลสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน

                (2) ประเมินจากงานที่ปฏิบัติและการอภิปราย

3. ทักษะทางปัญญา

          3.1  ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา

                ™ (1) มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์

                ˜ (2) มีความใฝ่รู้ สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาตามความต้องการได้

          3.2  วิธีการสอน

                (1) ให้นักศึกษาเขียนรายงานการปฏิบัติงานส่งปลายภาคเรียน โดยต้องค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่พบ สรุปผลและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานได้

                (2) พานักศึกษาไปศึกษาดูงานด้านการผลิตพืชในโรงเรือน

          3.3  วิธีการประเมินผล

                (1) ประเมินจากรายงานที่เขียนส่ง

                (2) ประเมินจากความสนใจ ความรู้จากการไปศึกษาดูงาน และนำมาประยุกต์ใช้

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          4.1  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา

                ™ (1) สามารถวางแผนพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้

                ˜ (2) มีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม

                ™ (3) สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          4.2  วิธีการสอน

                (1) แบ่งกลุ่มและมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ

          4.3  วิธีการประเมินผล

                (1) สังเกตพฤติกรรม และการทำงานร่วมกันของนักศึกษา

                (2) ประเมินจากความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

          5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา

˜ (2) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างเข้าใจ

™ (3) สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้

          5.2  วิธีการสอน

                (1) แบ่งกลุ่มนักศึกษาฝึกปฏิบัติ

                (2) ให้นักศึกษาเขียนรายงานการปฏิบัติงานส่งปลายภาคเรียน โดยต้องค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่พบ สรุปผลและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานได้

          5.3  วิธีการประเมินผล

                (1) สังเกตพฤติกรรมและให้คะแนนการทำงาน

6. ทักษะเชิงปฏิบัติการ

          6.1  ทักษะเชิงปฏิบัติการ ที่ต้องพัฒนา

                ˜ (1) มีพื้นฐานการปฏิบัติงานทางด้านวิทยาศาสตร์

                ˜ (2) มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

          6.2  วิธีการสอน

                (1) ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนาม

          6.3  วิธีการประเมินผล

                (1) สังเกตและประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษา

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1. แผนการสอน

สัปดาห์ ที่หัวข้อ/รายละเอียดจำนวนชั่วโมงกิจกรรมการเรียนการสอน และสื่อที่ใช้ผู้สอน
1  ชี้แจงรายวิชาและข้อตกลง ความสำคัญและความเป็นมาของการปลูกพืชในโรงเรือนรูปแบบ โครงสร้าง และคุณสมบัติของโรงเรือนเพาะปลูกพืช ปฏิบัติการที่ 1 เรื่อง นวัตกรรมโรงเรือนปลูกพืช  2   31. เช็คชื่อ ชี้แจงรายวิชา ข้อตกลง/ข้อปฏิบัติในรายวิชา 2. บรรยายโดยใช้ power point  ดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์
22. ชนิดพืชที่ปลูกในโรงเรือน ปฏิบัติการที่ 2 เรื่อง การวางแผนการผลิตพืชในโรงเรือน2   31. บรรยายโดยใช้ power point 2. แบ่งกลุ่มและมอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์
33. พื้นฐานการวางระบบควบคุมโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ (internet of things ปฏิบัติการที่ 3 การสร้างโรงเรือนจำลองเพื่อลองรับการควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ2   31. บรรยายโดยใช้ power point 2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติและมีการอภิปรายในเรื่องที่ได้ปฏิบัติดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์
44. การจัดการระบบโรงเรือนสำหรับปลูกพืชด้วยระบบอัจฉริยะ ปฏิบัติการที่ 4 การสร้างโรงเรือนจำลองเพื่อลองรับการควบคุมด้วยระบบอัจฉริยะ (ต่อ)2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร.พลเทพ  เวงสูงเนิน  
55. ระบบการให้น้ำแก่พืชในโรงเรือน ปฏิบัติการที่ 5 ระบบการให้น้ำแก่พืช2 31. บรรยายโดยใช้ power point 2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร.พลเทพ  เวงสูงเนิน  
66. ระบบการให้น้ำและควบคุมปั๊มน้ำเพื่อการเกษตรแบบอัตโนมัติ ปฏิบัติการที่ 6 ออกแบบระบบท่อและการควบคุมการให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ (ต่อ)2 31. บรรยายโดยใช้ power point 2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร.พลเทพ  เวงสูงเนิน  
77. ปัญญาประดิษฐ์ระบบปลูกพืชอัจฉริยะ (Artificial Intelligence) ปฏิบัติการ 7 การเขียนโปรแกรมคำสั่งด้วยโปรแกรม Arduino2 31. บรรยายโดยใช้ power point 2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
Download
ผศ. ดร. เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
88. โปรแกรม Micro Controller และการปฏิบัติการที่ 8 การเขียนโปรแกรม sensor ตรวจวัดสภาพแวดล้อม2   31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
Download
ผศ. ดร. เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
9สอบกลางภาค   
10บทที่ 9 เทคโนโลยีการตรวจวัดสภาพแวดล้อมด้วยระบบอัตโนมัติ ปฏิบัติการที่ 9 การเขียนโปรแกรม sensor ตรวจวัดสภาพแวดล้อม(ต่อ)2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point และโมเดลจำลอง 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติสร้างโมเดลต้นแบบโรงเรือน หรือให้งานนักศึกษาสร้างโมเดล
Download
ผศ. ดร. เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
11บทที่ 10 ระบบปฏิบัติการเกษตรแม่นยำ ปฏิบัติการที่ 10 Test ระบบโรงเรือนโครงงานนักศึกษา2   31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
Download
ผศ. ดร. เฉลิมชัย หล่อวงศ์ตระกูล
12บทที่ 11 โอกาสและการประยุกต์ใช้ Plant Factory ในการผลิตพืชสมุนไพร และธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืช ปฏิบัติการที่ 11 วิเคราะห์ SWOT analysis การลงทุนธุรกิจผลิตพืช2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์
13 บทที่ 12 ระบบการปลูกพืชบนดิน ปฏิบัติการที่ 12 เรื่อง การเตรียมแปลงปลูก การเพาะกล้า และการเตรียมวัสดุปลูก2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร. วริศา พิลาโฮม
14บทที่ 13 ระบบการปลูกพืชไร้ดิน ปฏิบัติการที่ 13 เรื่อง การปลูกพืชไร้ดิน2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร. วริศา พิลาโฮม
15บทที่ 14. โรคและแมลงในโรงเรือน ปฏิบัติการที่ 14 เรื่อง โรคและแมลงในโรงเรือน2 31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติดร. สุกัญญา ลาภกระโทก
1615. ทบทวนระบบฟาร์มอัจฉริยะ Term Project Present2   31. เช็คชื่อ 2. บรรยายโดยใช้ power point 3. ให้นักศึกษาเขียนรายงานการปฏิบัติงานส่ง โดยต้องค้นคว้าข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาที่พบ สรุปผลและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานได้ดร. วีรวัตร นามานุศาสตร์
17สอบปลายภาค   

2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

กิจกรรมที่ผลการเรียนรู้วิธีการประเมินสัปดาห์ ที่ประเมินสัดส่วนของการประเมินผล
1คุณธรรม จริยธรรม ข้อ (1), (3), (4)1. ให้คะแนนการตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา 2. สังเกตพฤติกรรม การทำงาน การเข้าเรียน การสอบ 3. ให้คะแนนความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย1-16     1-17   210 %     –   10 %
2ความรู้ ข้อ (1), (2), (3), (4)1. ประเมินจากผลสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 2. ประเมินจากงานที่ปฏิบัติและการอภิปราย9, 17   360 %   5 %
3ทักษะทางปัญญา ข้อ (1), (2)1. ประเมินจากรายงานที่เขียนส่ง 2. ประเมินจากความสนใจ ความรู้จากการไปศึกษาดูงาน และนำมาประยุกต์ใช้16   15 %   –
4ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ข้อ (1), (2), (3)1. สังเกตพฤติกรรม และการทำงานร่วมกันของนักศึกษา 2. ประเมินจากความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย1-16   2–   –
5ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อ (2), (3)1. สังเกตพฤติกรรมและให้คะแนนการทำงาน1-16
6ทักษะเชิงปฏิบัติการ ข้อ (1), (2)1. สังเกตและประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษา1-1610 %

หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 

– จิระเดช แจ่มสว่าง. 2547. เอกสารประกอบการฝึกอบรม “การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีในการปลูกผักระบบ

            ไม่ใช้ดิน และภายในโรงเรือน”. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2547 ณ. อาคารเจ้าคุณทหาร

            คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

– ชูชาติ สันธทรัพย์. มปป. เทคโนโลยีการผลิตพืชในโรงเรือน. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,

            เชียงใหม่. 8 น.

– ดิเรก ทองอร่าม. 2550. การปลูกพืชไม่ใช้ดิน หลักการจัดการการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตเชิงธุรกิจใน

          ประเทศไทย สำหรับส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์. พิมพ์ดีการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 816 น.

– ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ. 2550. การปลูกพืชผักในโรงเรือน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 40 น.

– สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). มปป. คู่มือการเรียนรู้ เรื่องการปลูกพืชในโรงเรือน.

          ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่, เชียงใหม่. 18 น.

– โสระยา ร่วมรังสี. 2544. การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน. โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 80 น.

– อานัฐ ตันโช. 2548. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 167 น.

2. หนังสือ เอกสาร และข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญ

          –

3. หนังสือ เอกสาร และข้อมูลอ้างอิง ที่แนะนำ

          –

หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.  การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา

1.1 แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา

1.2 การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน

2.  การประเมินการสอน

2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา

2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้โดยคณะกรรมการประเมินการสอน

3.  การปรับปรุงการสอน

3.1 นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินการสอนมาใช้ในการการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสม

3.2 ประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาและแนวทางแก้ไข

4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา

          คณะกรรมการประเมินการสอนทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยสุ่มประเมินจากข้อสอบ และการให้คะแนน

5.  การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา